อ่างเก็บห้วยหินกอง

อ่างเก็บน้ำห้วยหินกอง จ.สกลนคร พระราชดำริเมื่อ วันที่ 1 พฤษภาคม 2526 สถานที่ตั้ง บ้านหินเหิบ ตำบลวานรนิวาส อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร วัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อจัดหาน้ำให้ราษฎรบ้านหินเหิบและหมู่บ้านใกล้เคียง ในเขตตำบลวานรนิวาส อำเภอวานรนิวาส ให้มีน้ำสำหรับการเพาะปลูกและการอุปโภค-บริโภค จำนวน 1,500 ไร่ และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด สภาพทั่วไป เขื่อนดิน สูง 9.20 เมตร ยาว 870.00 เมตร สันเขื่อนกว้าง 6.00 เมตร ฐานเขื่อนกว้างที่ระดับท้องน้ำ 56.50 เมตร ระดับน้ำสูงสุด +151.000 เมตร (รสม.) ระดับเก็บกัก +150.000 เมตร (รสม.) ปริมาตรน้ำที่ระดับสูงสุด 1.70 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาตรน้ำที่ระดับเก็บกัก 1.35 ล้านลูกบาศก์เมตร ระยะเวลาก่อสร้าง ปี 2527 แล้วเสร็จในปีเดียวกัน รายละเอียดโครงการ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2526 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินสวนป่ารักน้ำ บ้านกุดนาขาม อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ในโอกาสเดียวกันนี้ นายสิงห์ แสนบูญศิริ ผู้ใหญ่บ้าน บ้านหินเหิบ หมู่ที่ 7 ตำบลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ได้ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา เพื่อขอพระราชทานแหล่งน้ำ เพื่อบริโภค และเพื่อการเกษตรกรรม กรมชลประทาน จึงได้พิจารณาวางโครงการ และจะดำเนินการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยหินกอง เพื่อช่วยเหลือราษฎรดังกล่าว โดยมีลักษรธโครงการดังนี้ ลักษระเป็นเขื่อนดิน สูง 9.20 เมตร ยาว 870 เมตร ความจุของอ่างเก็บน้ำประมาณ 1.35 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่อ่างเก็บน้ำประมาณ 420 ไร่ มีท่อส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำทั้ง 2 ฝั่ง ฝั่งละ 2 แห่ง คือฝั่งซ้าย แนวบนขนาด 1-0.30 เมตร แนวล่างขนาด 1-0.40 เมตร ฝั่งขวาแนวบนขนาด 1.-0.30 เมตร แนวล่างขนาด 1-0.40 เมตร เพื่อส่งน้ำให้แก่พื้นที่เพาะปลูกประมาณ 2,000 ไร่ ค่าก่อสร้างตัวเขื่อนพร้อมอาคารประกอบทั้งหมด ประมาณ 7.89 ล้านบาท เริ่มก่อสร้างในปีงบประมาณ 2527 และเสร็จลงในปีเดียวกันผลประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการนี้คือ สามารถส่งน้ำให้แก่พื้นที่เพาะปลูก หมู่บ้านหินเหิบและหมู่บ้านใกล้เคียงในเขตตำบลวานร อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ในฤดูฝนได้ประมาณ 2,100 ไร่ ฤดูแล้งประมาณ 1,000 ไร่ และมีน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค ของราษฎรในหมู่บ้านหินเหิบได้ตลอดปี รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยว เพื่อพักผ่อนหย่อนใจและเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงปลาได้เป็นอย่างดีด้วย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ราษฎรและเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงได้รับน้ำในการเพาะปลูก และใช้ในการอุปโภค-บริโภค ความก้าวหน้าของโครงการ ผลการดำเนินงานแล้วเสร็จทั้งโครงการสามารถช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูก จำนวน 1,500 ไร่ ราษฎรได้รับประโยชน์ 3 หมู่บ้าน ใน 1 ตำบล